วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เซ็นเซอร์แสง โดยใช้ LDR








1. ใช้ LED ส่องแสง
2. ใช้ LDR รับแสง ค่าความต้านทานจะเปลี่ยนตามปรมาณแสงที่ได้รับ ( การกระทบวัตถุ แล้วสะท้อนกลับมา)
3. นำค่าความต้านทานที่เปลี่ยนเข้าวงจรแบ่งแรงดัน จะได้ค่าแรงดันตกคร่อมเปลี่ยนแปลงตามปริมาณแสง
4. อาจเข้าวงจร แปลงสัญญาณอะนาล็อกเป็นดิจิตอล เพื่อประมวลผลด้วย ไมโครโคนโทรลลเลอร์
หรือ เข้าวงจรเปรียบเทียบแรงดัน จากวงจรออปแอมป์

5. ส่วนใหญ่ ใช้ในวงจร ตามคน, หลบสิ่งกีดขวาง, หรือจับเส้น

หมายเหตุ
วงจรนี้มักมีปัญหา แสงจากสภาพแวดล้อมรบกวน เมื่อปรับแต่งแล้ว หากย้ายที่อาจต้องปรับแต่งใหม่
จึงไม่เหมาะสำหรับการเปลี่ยนตำแห่งที่ตั้ง ( หากนำมาจับเส้น ต้องให้บริเวณข้างล่าง มีแสงมากวนน้อยที่สุด)




ตัวอย่างการต่อวงจร



ใช้ออปแแอมป์เป็นตัวเปรียบเทียบแรงดัน


ตัวอย่างอีกแบบ
ต่อเข้าไมโคร ผ่านวงจรแปลง A/D ใช้แสงนีออน

 ค่าความต้านทานของ LDR นี้เปลี่ยนไปตามความสว่างของแสงที่ตกบนตัว LDR ดังนี้
- เมื่อไม่มีแสงตกกระทบเลย(มืดสนิท) มีค่าประมาณ 100 K ขึ้นไป
- ถ้ามีแสงมาก มีค่าประมาณ 1 K
- แสงไฟนีออนตกกระทบมีค่าประมาณ 10 K
ดังนั้นควรใช้ค่า R อนุกรมประมาณ 15 K - 20 K









วงจรบีม ที่ใช้ LDR




- ใช้ R   47K  ต่อลงกราวด์
- ใช้ R 1k ต่อเข้าขาเบสของทรานซิสเตอร์ 2N3904
- ใช้ไดโอด1n4007
- ใช้รีเลย์ 12 V
- แหล่งจ่ายไฟ 9-12 V 

การทำงาน เมื่อมีแสงมากระทบ LDR ทำให้ความต้านทานตัวมันมีค่าน้อยลง ทหให้แรงดันตกคร่อม R 47K มากขี้น ( 2 ตัวนี้แต่อแบบแบ่งแรงดัน: อนุกรม) ทำให้มีแรงดันตกคร่อม ขา B และ E ทรานซิสเตอร์มากขึ้น จนทำงาน
ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหล จากขา C ไปขา E ของทรานซิสเตอร์ ส่งผลให้ รีเลย์มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปด้วย เมื่อรีเลย์ทำงาน จะทำหน้าที่เป็นสวิตช์ไฟฟ้า ตัดต่อวงตร ให้มอเตอร์ ทำงาน มีกระแสไหลผ่าน ครบวงจร





อีกวงจร เป็นหุ่นยนต์แทร็กเส้น



IC1 คือ Op-Amp เบอร์ LM358
IC2 คือ Not Gate บอร์ 74LS04 หรือ 7404
IC3 คือ ตัวที่ใช้ขับกระแส เบอร์ TA7279P ของ TOSHIBA
R1   คือตัวต้านทานขนาด 1K(เวลาไปซื้อบอกเค้าว่า"เอาตัวต้านทาน หนึ่งเค")
RV   คือตัวต้านทานปรับค่าได้ ขนาด 100K

















วงจรพื้นฐานง่าย ๆ  อีกแบบหนึ่ง
                   ซึ่งทำให้บีมโรบอตวิ่งตามแสงได้[/b
]


แนวการออกแบบวงจร    
                    จากนิตยสาร Hobby Electronics ปีที่ 11 ฉบับที่ 121 มิ.ย. - ก.ค. 2545

     ใน การออกแบบวงจรเราต้องวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเสียก่อน โดยหุ่นยนต์ต้องมีความสามารถเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาเสียก่อน เป็นอิสระจากกันและต้องขึ้นอยู่กับแสงที่ให้ด้วย มอเตอร์ต้องเป็นมอเตอร์ที่มีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา แต่มอเตอร์ที่มีขนาดเล็กแม้อาจจะไม่สามารถให้แรงบิดสุงได้ ดังนั้นถ้าเราต้องการให้หุ่นยนต์วิ่งตามแสงได้ อุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ต้องมีขนาดเล็กที่สุดและน้ำหนักเบาที่สุดอีกด้วย จากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของวงจรหุ่นยนต์เดินตามแสงขึ้นมา
      วงจรออกแบบแม้จะไม่คล้ายกับวงจรที่เคยเห็น แต่ก็สามารถทำให้บีมทำงานได้และเป็นวงจรง่าย ๆ การเลือกที่ไอซีเบอร์ ULN2003 มาเป็นหัวใจหลักของบีมตัวนี้ก็คือ มีราคาถูกสามารถขับกระแสได้ประมาณ 500 มิลลิแอมป์
      ลักษณะการทำงานของ ULN2003 จะเหมือนนอตเกตและยังมีไดโอดป้องกันอีกด้วย โดยไอซีเบอร์นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวขับกระแสและเป็นสวิตซ์เปิดปิดให้มอเตอร์ ทำงานหรือหยุดการทำงาน สิ่งที่เราต้องพิจารณามากที่สุดในการออกแบบก็คือแรงดันอินพุตสูงสุดที่จะทำ ให้ไอซีเบอร์นี้ทำงาน

 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น